วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะหยุดยิง จริงหรือ ??





หนึ่งสัปดาห์หลังคำแถลงหยุดยิง กับข้อสังเกตจาก นิมุ มะกาเจ



Photobucket




“ผมขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว” เป็นคำพูดของ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร อดีตผู้บัญชาการทหารบก (อดีต ผบ.ทบ.) และหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ที่ออกมาแอ่นอกแสดงสปิริตล่วงหน้า หลังถูกตั้งคำถามถึงความไม่ชอบมาพากลกรณีนำบุคคลที่ถูกระบุว่าเป็น "กลุ่มใต้ดินรวมภาคใต้ของประเทศไทย" อ่านแถลงการณ์หยุดยิงและยุติการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกอากาศผ่านโทรทัศน์ทุกช่องเมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมาตลอด 7 วันนับตั้งแต่วันพุธที่แล้วจนถึงพุธนี้ ในสามจังหวัดยังมีเหตุร้ายเกิดขึ้นทุกวัน แม้ช่วงแรกจะเบาบางเพียงวันละ 1-2 เหตุการณ์ แต่ยิ่งนานวันเหตุการณ์ยิ่งรุนแรงและถี่ยิ่งขึ้น ที่สำคัญคงอ้างไม่ได้ว่า เหตุการณ์ประเภทลวงตำรวจไปกดระเบิดบาดเจ็บถึง 10 นาย หรือโจมตีชุด รปภ.ครู จนมีทหารเสียชีวิต ที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 วันมานี้ เป็นการก่อเหตุในลักษณะ "ควันหลง" หลังการเจรจาสันติภาพ เพราะขณะนี้หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่เองหลายหน่วยก็ออกมายอมรับตรงกันแล้วว่า เป็นการก่อเหตุของกลุ่มแนวร่วมที่ต้องการตอบโต้คำแถลงหยุดยิง! คำถามก็คือ พล.อ.เชษฐา จะรับผิดชอบอย่างไร? ระหว่างที่สังคมยังรอคำตอบจากหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังมีคำถามคาใจเกี่ยวกับกลุ่มใต้ดินรวมภาคใต้ของประเทศไทย นิมุ มะกาเจ มองเรื่องนี้ด้วยสายตาของผู้ทรงคุณวุฒิประจำจังหวัดยะลา และอดีตรองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด พร้อมตั้งข้อสังเกตเอาไว้อย่างน่าสนใจ "ชื่อกลุ่มเป็นชื่อใหม่ คือกลุ่มใต้ดินรวมภาคใต้ของประเทศไทย มีเครื่องหมายคือ สีในธง รูปลักษณ์ สัญลักษณ์ รวมทั้งผู้ที่ออกมาประกาศ และผู้แปล มิได้ระบุชื่อ ตำแหน่ง เป็นบุคคลที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อน ขอวิจารณ์ว่า
1.ผู้ประกาศ คือนายลุกมัน บินลิมา หรือ นายมะรีเป็ง คาน น้องชายหรือพี่ชายของ นายซำซุดิง คาน (รองเลขาธิการกลุ่มพูโลเก่า) ใช่หรือไม่
2.ทั้งสามชื่อนั้นเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่
3.หรือจะเป็น หะยีอิสมะแอ มะรือโบ หัวหน้ากลุ่มติดอาวุธขบวนการพูโล ที่เคยเคลื่อนไหวในพื้นที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ระหว่างปี 2528-2530
4.บุคคลที่ปรากฏทั้ง 3 คนมีการเสริมแต่งหน้าตาหรือไม่
5.เป็นคนไทยมุสลิมเชื้อสายปาทานหรือไม่"

นอกจากข้อวิจารณ์ในเชิงตั้งคำถามแล้ว นิมุ ยังวิเคราะห์เรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละมุม โดยแยกเป็นประเด็นๆ ดังนี้
1.ประกาศนี้ (หยุดยิง) มีอำนาจเพียงพอหรือไม่ และเป็นที่ยอมรับของขบวนการอีกหลายๆ กลุ่มมากน้อยเพียงใด
2.ระยะเวลา 1 เดือนเพื่อเป็นการพิสูจน์ (ตามคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.เชษฐา)เพียงพอหรือไม่
3.ผู้แปลมีสำเนียงที่คล้ายกับชาวบ้านในพื้นที่ของจังหวัดสงขลาเพียงใด
4.ผู้ที่เป็นคนแปลนั้น คือ อุสตาซอาซิส เป็นหนึ่งใน 130 คนไทยที่อพยพออกจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้ามฝั่งไปยังประเทศมาเลเซียเมื่อราว เดือนกันยายน 2548 ที่เป็นข่าวครึกโครมในช่วงนั้นใช่หรือไม่ หรือชื่อ นายสะแปอิง กูนิเนาะสตา

ข้อพิจารณาต่อมาก็คือหากว่าคำแถลงดังกล่าวเป็นความจริง และคำประกาศหยุดยิงเกิดได้ผล ต่อไปควรจะทำอย่างไร ซึ่ง นิมุ อธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
1.รัฐบาลจะรับไปดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ ให้ใครรับไปดำเนินการระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือ ผบ.ทบ.หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2.การเจรจาที่อาจจะต้องมีในอนาคตต้องทำเพื่อประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้มากน้อยเพียงใด และคนในพื้นที่จะมีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ เพียงใด
3.ภาพลักษณ์ของกลุ่มคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้นำประเภทต่างๆในพื้นที่ขาดเอกภาพในการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ดังนั้นเพื่อเป็นการทำให้เกิดเอกภาพอันจะเป็นความต่อเนื่องในข้อตกลงด้านต่างๆ (ที่อาจมีขึ้น) ให้เป็นไปด้วยดีในอนาคต จะให้ฝ่ายใดบริหารจัดการ ทำอย่างไร
4.เหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในอดีต มีกลุ่มขบวนการที่ประกาศเป้าหมายที่ชัดเจน ต่อมามีขบวนการเพิ่มมากขึ้น บางกลุ่มแยกเพิ่มและขัดแย้งกันเอง ระยะหลังจนถึงปัจจุบันมีหลายกลุ่ม และมีกลุ่มแทรกซ้อนจากผู้หวังประโยชน์จากคนหลายฝ่ายหลายระดับ เล่าลือทั้งความเป็นจริงและ ความเป็นเท็จ พฤติกรรมรุนแรงโหดร้ายมาก จนมีการประณามบ้าง สาปแช่งบ้าง ผู้ประกาศจะรับส่วนนี้ได้เพียงใด ขบวนการอีกหลายกลุ่มนั้นจะร่วมมือด้วยหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
5.ผู้ที่เสียประโยชน์จากประกาศนี้มีหรือไม่ มีโอกาสเป็นมือที่สามในการสร้างสถานการณ์ต่อเนื่องหรือไม่ ฝ่ายใดจะป้องกัน และแก้ไข
นิมุ ในฐานะผู้นำศาสนาที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง ยังเสนอแนวทางรับมือกับสถานการณ์ในพื้นที่เอาไว้ว่า
1.ชาวบ้านต้องมีพลังชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการทุกกิจกรรมในพื้นที่
2.รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานต้องดำเนินการตามโครงการต่างๆ ที่มุ่งหมายให้ชาวบ้านชนบทได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ ช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ โครงการต้องต่อเนื่องไม่ขาดตอน
"ผมขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายมีมุมมองในทางที่ดี พิจารณาว่าตั้งแต่มีการประกาศการหยุดยิง ณ วันที่ 14 รอยับ 1429 ซึ่งตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม 2551 นั้น มีแค่เสียงสรรเสริญ เสียงดีใจ เสียงตอบรับที่ดีจากคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้มีความคลางแคลงใจในหลายประการก็ตาม แต่ก็ไม่มีเสียงคัดค้านหรือเสียงต่อต้านการประกาศหยุดยิงจากชาวบ้านที่เคยประสบกับภาวะความเครียด หวาดหวั่น หวาดผวา" "จึงอยากใคร่ขอเรียกร้องให้กลุ่มขบวนการต่างๆ ทั้งที่เคยมีส่วนร่วมในการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ลักษณะต่างๆ ทั้งเหตุการณ์เบาและรุนแรง เห็นแก่จิตใจของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เรียกร้องขอความสันติ (สันติ-อิสลาม) ในพื้นที่ ขอร้องให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่โดยตรงหรือมีอำนาจตามกฎหมาย เปิดประตู่เข้าสู่ความสันติ (สันติ-อิสลาม) พิจารณารองรับความเป็นไปได้ เมื่อหลังจากผ่านการทดสอบเบื้องต้นที่มีการหยุดยิง หยุดเหตุการณ์ความรุนแรงผ่าน 3 เดือนขึ้นไป เพื่อหาข้อตกลงในอนาคต จะได้ทางเลือกที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และประโยชน์ของคนประเทศชาติโดยส่วนรวม อย่าได้คำนึงถึงผลประโยชน์แฝงต่อคนหรือกลุ่มคนหรือคณะใดๆ ก็ตาม" "หากได้ตามนั้นแล้ว ข้อวิจารณ์ ข้อวิเคราะห์ ประเด็นพิจารณาข้างต้นจะไม่มีความหมาย เพราะประชาชนส่วนใหญ่เชื่อในคำพูดของผู้ประกาศที่เป็น มุสลิม และเมื่อฝ่ายกลุ่มขบวนการต่างๆ และฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองพบแนวทางร่วมกันที่ดีกระทั่งได้ผลดี ผลดีนั้นก็ตกเป็นของประชาชนในพื้นที่ สันติอันเที่ยงตรงที่พึงประสงค์จะเกิดและจะอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป"


วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ช่วย?? หรือ ทำลาย!! ชาติ

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (อังกฤษ: People's Alliance for Democracy: PAD) เกิดจากการรวมตัวกันของหลายองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรอิสระภาคประชาชน จุดประสงค์หลักของการรวมตัวเพื่อกดดันขับไล่ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเห็นว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจส่วนตัวและคนสนิทและประพฤติผิดอีกหลาย ๆ อย่างอันไม่สมควรในการเป็นผู้บริหารประเทศ โดยมีแกนนำ 5 คน ได้แก่

1.สนธิ ลิ้มทองกุล

Photobucket
สนธิ ลิ้มทองกุล (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 — ) เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน ผู้ก่อตั้งและเจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการ ผู้ดำเนินรายการกลางแจ้ง เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร และเคยเป็นผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ก่อนที่ถูกระงับการถ่ายทอดเนื่องจากการกล่าวถึงพระราชอำนาจ
ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ศาลล้มละลายกลางได้พิพากษาให้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นบุคคลล้มละลาย
ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2546 สนธิได้เขียนข่าวทำนายว่าเงินดอลล่าร์สหรัฐจะตกต่ำในปี พ.ศ. 2553 พร้อมทั้งสนับสนุนให้ลดการส่งออก[2] และขณะเดียวกันแนะนำให้ผู้คนลงทุน ด้วยการซื้อทองสะสมไว้
ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2549 สนธิเป็นหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่นำการชุมนุมเพื่อขับไล่ พต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

2.พลตรีจำลอง ศรีเมือง

Photobucket
เป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปัจจุบัน ที่เรียกร้องให้รัฐบาลสมัคร สุนทรเวชลาออกทั้งคณะ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ 2 สมัย ผู้ก่อตั้ง และหัวหน้าพรรคพลังธรรมคนแรก เป็นแกนนำของผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 และเป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ช่วงปี พ.ศ. 2549
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง มีชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "มหาจำลอง" และ "มหาห้าขัน"

3.สมศักดิ์ โกศัยสุข

Photobucket

เป็นเลขาธิการสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2548 และเคยยื่นหนังสือคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อนายกรัฐมนตรี พต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

4.พิภพ ธงไชย

Photobucket

(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 — )ที่ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนันทนศึกษา กรุงเทพฯ หลังจากนั้นเข้าเรียนต่อวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทำกิจกรรมนักศึกษาจนได้รับเลือกเป็น นายกองค์การนักศึกษาในปี พ.ศ. 2510

5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์

Photobucket

เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2493 ที่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการศึกษา (กศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดับปริญญาโทศึกษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์มติชนและนักวิชาการการเมืองภาคประชาชน เป็นครู ร.ร.วัดสระแก้ว เคยเป็นเลขาธิการสภาองค์การครูเพื่อสังคม (อคส.) เครือข่ายครูทั่วประเทศ 66 องค์กร ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และเป็นหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยทำงานเกี่ยวกับมวลชนและคนยากจนมากว่า 30 ปี เป็นแกนนำต่อต้านกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ และโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
ปัจจุบัน ได้ลาออกจากการเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อลงรับเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 อย่างเต็มตัว นายสมเกียรติได้ลงเลือกตั้งในระบบสัดส่วนที่พื้นที่เขต 6 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับ นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ (อันดับที่ 1) พันเอกวินัย สมพงษ์ (อันดับที่ 3) ด้วย ซึ่งนายสมเกียรติอยู่ที่อันดับที่ 2 และได้รับเลือกตั้งไป

6.สุริยะใส กตะศิลา

Photobucket

เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2515 ที่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จบการศึกษาปริญญาตรี จาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ประสานงาน ครป. และได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการ ครป. ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2545 และอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงปัจจุบันโดยไม่มีการเลือกตั้งใหม่ตามวาระ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย เข้าร่วมการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
บทบาทของ สุริยะใส ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตร
นอกจากจัดแถลงข่าวคราวความเคลื่อนของเหล่าพันธมิตรผ่านสือ สุริยะใส แสดงบทบาทตามสือต่างๆ ถูกเชิญไปออกในรายการ ถึงลูกถึงคน ทางช่อง 9 อสมท และ ASTV หลายต่อหลายครั้ง

Photobucket
ก่อนและหลังการปฏิรูปโดย คปค.นายสนธิ ลิ้มทองกุล และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ให้สัมภาษณ์ข่าวเกี่ยวกับทฤษฎี "แผนฟินแลนด์" และกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สมคบคิดกับอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี ยึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทย และก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตผู้นำและผู้ร่วมพคท. ได้ปฏิเสธว่า แผนสมคบคิดนี้ไม่ได้มีอยู่จริง แต่เป็นที่เชื่อกันในสังคมว่าเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริงและกำลังถูกดำเนินการอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ภายหลังรัฐประหารสำเร็จได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ก่อการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองจาก
รัฐบาลเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
หลังจากเกิดการปฏิรูปโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทางกลุ่มพันธมิตรฯซึ่งแผนการเดิม จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อขับไล่รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง ก็ได้ยุติการชุมนุมไป แล้วทิศทางในปัจจุบันนี้คือ ทางแกนนำกลุ่มพันธมิตรทั้ง 5 คน ก็ได้ตัดสินใจแยกทางกันตามปกติ ยุติการเคลื่อนไหวแล้ว แต่ก็ยังมีการจับตาทางฝ่ายของอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่ เพื่อไม่ให้อดีตนายกรัฐมนตรีรวมทั้งคณะรัฐมนตรีในพรรคไทยรักไทย ที่ได้จัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งปลายปี พ.ศ. 2550 แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือแทรกแซงระบบราชการ
การกลับมาเคลื่อนไหวของพันธมิตรภายใต้รัฐบาลสมัคร
การกลับมาเคลื่อนไหวของพันธมิตรภายใต้รัฐบาลสมัคร
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับมายังประเทศไทย โดยกลุ่มพันธมิตรให้เหตุผลว่าคำสั่งโยกย้าย อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (ปชส.) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.สตช.) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อาจเป็นการแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรม
โดยที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขอย้ำจุดยืนว่าจะไม่เคลื่อนไหวใด ๆ เพื่อคัดค้านการกลับมาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ทันทีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางถึงประเทศ ไทย แกนนำทั้งหมดจะเฝ้าดูและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ พันธมิตรฯ ขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตำรวจในฐานะเจ้าพนักงานสอบสวน อัยการสูงสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ต้องหาตามหมายจับ โดยยึดหลักปฏิบัติเดียวกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่กลับมายังประเทศไทยก่อนหน้านี้
ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง โดยจัดสัมมนาที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีการเสวนาทางวิชาการโดยนักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลที่สนใจในการเมืองหลายกลุ่ม รวมทั้งมีการแสดงงิ้วธรรมศาสตร์อีกครั้ง และเปิดตัวผู้ทำงานทางด้านติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลชุดต่าง ๆและจัดชุมนุมอีกครั้งที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 25 เมษายน ปีเดียวกัน

ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญในระหว่างการชุมนุม
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 15.00 น. ได้จัดรวมตัวชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 รวมทั้งมีการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อถอดถอน ส.ส. ส.ว. ที่เข้าชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ด้วย พร้อมทั้งกล่าวหาถึงขบวนการสาธารณะรัฐ ที่ต้องการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ เวลา 21.00 น. ได้เคลื่อนขบวนไปปักหลักยังหน้าทำเนียบรัฐบาล แต่ติดอยู่เพียงแค่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กั้นไว้ อีกทั้งท้ายขบวนยังมีการปะทะกับกลุ่มผู้ต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯด้วย จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย
วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าชื่อร่วมถอดถอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ที่ลงชื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ส่วนอาสาสมัครผู้ช่วยการ์ดกลุ่มพันธมิตรฯ ถูกฝ่ายตรงข้ามรุมทำร้ายที่สะพานผ่านฟ้า จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ขาซ้ายหัก ศีรษะแตกเย็บกว่า 20 เข็ม จนต้องเข้ารับการผ่าตัดที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแต่อย่างใด
วันอังคารที่
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มผู้สนับสนุนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ณ นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ร่วมชุมนุมหน้ากงสุล 250 คน พร้อมทั้งสนับสนุนเงินบริจาคให้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นจำนวน 120,000 บาท ในวันเดียวกัน ศาลจังหวัดเชียงรายยกคำร้องถอนประกันที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้ยื่นต่อศาลให้ถอนประกัน นายสนธิ ลิ้มทองกุล โดยศาลให้เหตุผลว่า เป็นการเข้าร่วมชุมนุมที่ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 มีผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์ ทั้งหญิงและชาย จากเขตดุสิต และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ประมาณ 100 คน รวมตัวกันอยู่บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า บริเวณทางออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประตู่ฝั่ง ถนนพระอาทิตย์ ในวันเดียวกันนี้ นายจักรภพ เพ็ญแข ลาออกจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในวันนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ประกาศเปลี่ยนเป้าหมายในการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสมัครลาออกทั้งคณะ เพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น และยังกล่าวหาด้วยว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่พันธมิตรให้เหตุผลในการขับไล่อยู่ 12 ประการหลังจากนั้น นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ขึ้นเวทีปราศัยแล้วประกาศต่อสู้กับรัฐบาลสมัครขั้นแตกหัก โดยสั่งให้ผู้ชุมนุมทุกคนปักหลักชุมนุมต่อไป
วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 08.50 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย ไม่ยอมให้รถของผู้ที่จะเข้ามารวมกับกลุ่มพันธมิตรฯ ผ่านเข้าไปในบริเวณที่ชุมนุม หลังจากนั้นไม่นาน ประชาชนจำนวน 200 คน ได้เดินเข้าไปประชิดเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเจรจาขอให้เปิดทางให้กับรถยนต์ที่จะเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ โดยใช้เวลาเจรจาเพียง 5 นาที เจ้าหน้าที่จึงยอมเปิดทางให้กับกลุ่มที่จะมาร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ
วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 15.50 น. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ออกมาย้ำจุดยืนบนเวทีพันธมิตรฯ โดยยืนยันว่าจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และจะไม่ย้ายสถานที่ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ไปที่ทำเนียบรัฐบาล แม้ตำรวจจะเปิดทางให้ก็จะไม่ไป ซึ่ง พล.ต.จำลองกล่าวว่า
เราอยู่ตรงนี้ดีแล้ว
เราจะกินนอนที่นี่ ภูมิประเทศแถวนี้ผมรู้ดีกว่าตำรวจ สมัยเป็นนักเรียนนายร้อยเดินไปเดินมาบริเวณนี้ตั้ง 5 ปี ส่วนที่ทำเนียบก็เคยทำงานการเมืองมาหลายสมัย จึงรู้ทำเลดีกว่าตำรวจแน่
จากนั้นเวลา 19.45 น. มีกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ประมาณ 200 คน ขับไปจอดที่บริเวณแยก จปร.พร้อมทั้งตะโกนต่อว่า และบีบแตรรบกวน อยู่ประมาณ 2 นาที ก่อนวกหัวกลับไปทางถนนราชดำเนินกลาง
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ปรับแผนยุทธศาสตร์ดาวกระจาย เริ่มต้นด้วยนายสุริยะใส กตะศิลา และผู้ร่วมชุมนุม 300 คน เดินทางไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด แล้วยื่นจดหมายถึงนายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุด นอกจากนี้ ยังได้เคลื่อนขบวนมุ่งหน้าสู่กระทรวงมหาดไทย เพื่อยื่นหนังสือถึง ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้ดูแลและแก้ปัญหาของประชาชนมากกว่าการโต้ตอบทางการเมือง รวมทั้งยังเดินทางไปชุมนุมประท้วงที่ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อถามหาความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ [19]
วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นัดแนะกับผู้มาร่วมชุมนุมให้สวมเสื้อเหลืองและได้ร่วมกันจุดเทียนและร้องเพลงถวายพระพร เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ 62 ปี
วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 11.28 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนจากหน้าสนามกีฬาแห่งชาติไปชุมนุมที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมเรียกร้องให้ประธาน กกต.ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบคำร้องทุจริตเลือกตั้งที่ถูกยกกว่า 700 คดี ขณะเดียวกัน ให้ตรวจคำแถลงปิดคดีใบแดง “ยงยุทธ ติยะไพรัช” ด้วยตัวเอง และยังให้กำลังใจ กกต. 3 คนคือ
1.นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
2.นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง
3.นายสุเมธ อุปนิสากร กรรมการการเลือกตั้ง
ขณะเดียวกัน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังอ้างว่า นาย
สมชัย จึงประเสริฐ กรรมการการเลือกตั้งอีกคนหนึ่ง มีพฤติกรรมที่แสดงออกเข้าข้างพรรคพลังประชาชนในทุกกรณี ตลอดจนอยู่ในฐานะที่กำกับดูแลเรื่องฝ่ายสืบสวนสอบสวนที่บังอาจนำเสนอหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลฎีกานั้น ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งโดยทันที
วันอังคารที่17 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ประกาศเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ เวลา 20:58 น. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา และ นายวสันต์ พานิชย์ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ออกมากล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นซึ่ง ได้ประกาศนโยบายการประกาศสงครามปราบปรามยาเสพติดว่า นโยบายนี้มีการใช้วิธีการฆ่าตัดตอน ที่ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,800 ราย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง จากนั้นมีการเปิดเทปบันทึกภาพเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส ในยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่แสดงให้เห็นถึงการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรง และโหดเหี้ยมทำให้มีผู้เสียชีวิตต่อเนื่องกันถึงกว่า 70 ราย เวลา 21.20 น. หลังจากที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้ประกาศจะนำมวลชนเคลื่อนไปชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลในเวลา 13.00 น.ของวันที่ 20 มิถุนายน และขณะที่ นายพิภพ ธงไชย กำลังปราศรัยเรื่องแผนที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทเขาพระวิหารอยู่นั้น ตำรวจได้เปิดเพลง “รักกันไว้เถิด” เสียงดังมาก พร้อมกับเปิดไฟสปอตไลต์ใส่ผู้ชุมนุม ทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนไม่พอใจเดินเข้าไปต่อว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่อมาหน่วยรักษาความปลอดภัยของพันธมิตรฯ ได้ใช้โทรโข่งประกาศบอกผู้ชุมนุมให้ใจเย็นๆ และอยู่ในความสงบ
วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น. พันธมิตรฯ เคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ทับซ้อนเขาพระวิหารให้กับประชาชนคนไทยได้รับรู้ หลังจากตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้นั้น เพียงพอที่จะทำให้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ที่เคลือบแคลงใจ และหวงแหนแผ่นดินไทย ต่างเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยต้องการเรียกร้องให้นายนพดลเปิดเผยข้อเท็จจริงโดยด่วน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่กระทบต่อหัวใจคนไทยทั้งประเทศ ขณะที่มาตรการรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 2 กองร้อย ตรึงกำลังเข้มทั้งภายในและภายนอกกระทรวงอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งนำรั้วเหล็กปิดกั้นประตูทางเข้า-ออกทั้ง 2 ด้าน ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ประมาณ 1,000 คน พร้อมรถเครื่องขยายเสียง ได้ปิดถนนศรีอยุธยาฝั่งกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 4 ช่องทางแล้ว ทำให้การจราจรบริเวณโดยรอบติดขัดอย่างหนัก จากนั้นเวลา 10:24 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ออกจดหมายเปิดผนึก ถึงนายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้กำลังใจกระทรวงการต่างประเทศ ยืนหยัดในการพิทักษ์รักษาศักดิ์ศรีและอธิปไตยของชาติ หยุดเชื่อฟัง รมว.ต่างประเทศคนรับใช้"ทักษิณ"
เวลา 14.00 น. นาย
นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ในคืนวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ขบวนของกลุ่มต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ ได้เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงมาหยุดอยู่ที่บริเวณสี่แยก จ.ป.ร. (หน้าอาคารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เผชิญหน้ากับตอนท้ายขบวนของพันธมิตรฯ โดยยังไม่มีเหตุปะทะกันเกิดขึ้น ด้านตำรวจได้จับตามองสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดเหตุรุนแรง
วันศุกร์ที่
20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 13.00 น.พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล เพื่อขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช หลังจากเดินทางไปยังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อคัดค้านกรณีนายนพดล ปัทมะยอมรับแผนที่ปราสาทเขาพระวิหารที่กัมพูชากำหนดขึ้น เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน
ประมาณเวลา 13.30 น. ขบวนผู้ชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภายใต้การควบคุมของ พล.ต.
จำลอง ศรีเมือง สามารถฝ่าการสกัดกั้นของตำรวจเข้ายึดพื้นที่แยกนางเลิ้งสำเร็จ พร้อมประกาศจะเคลื่อนขบวนเข้าพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลในเวลา 17.00 น. (กรุงเทพธุรกิจ) ส่วนขบวนของนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้เคลื่อนพลถึงบริเวณแยกวังแดงใกล้คุรุสภา ด้าน นปก. ได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมของตนและกลุ่มจักรยานยนต์ ปักหลักชุมนุมที่ ถนนราชดำเนินนอก หวังกดดันให้พันธมิตรฯ ยุติการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ขณะที่การจราจรบริเวณรอบถนนราชดำเนินนอกเป็นอัมพาต
เวลา 15.00 น. ขบวนผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ กลุ่มของนายสมศักดิ์ โกศัยสุขสามารถฝ่าด่านของตำรวจที่สกัดไว้บริเวณแยกมิสกวัน และมุ่งหน้านำกลุ่มผู้ชุมนุมไปสมทบกับกลุ่มของพลตรีจำลองที่แยกนางเลิ้งจนสำเร็จ
เวลา 15.30 น. พันธมิตรประกาศชัยชนะในการยึดพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล ด้าน พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองโฆษก
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าว ยอมรับว่าการที่พันธมิตรฯ สามารถยึดพื้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาลสำเร็จ ถือเป็นชัยชนะของประชาชนทุกคน เพราะถือว่าตำรวจไม่ได้แพ้ และประชาชน ก็ไม่ได้แพ้ และทั้งสองฝ่ายต่างก็เป็นประชาชนเช่นเดียวกัน พร้อมยืนยัน จะไม่มีการสลายการชุมนุมหรือการใช้แก๊สน้ำตาแต่อย่างใด